เรามักจะเคยได้ยินว่า คนที่เป็นโรคหลอดเลือดในสมองแตกที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ส่วนใหญ่มักจะมีอาการในห้องน้ำ หรือขณะที่อาบน้ำอยู่ จนทำให้เกิดความสงสัยว่า จริงๆแล้ว เพราะสาเหตุอะไรกันนะ วันนี้เราเลยขอเอาความรู้และวิธีการดูแลตัวเองของคนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง มาฝากทุกคนกันค่ะ
โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือ หลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก
ส่วนสาเหตุที่ทำให้คนที่เส้นเลือดในสมองแตกถึงมักเกิดในห้องน้ำ หรือเวลาอาบน้ำ ก็เป็นเพราะว่าบางคนเข้าห้องน้ำปุ๊บ ก็เปิดน้ำสระที่หัวหรือผมก่อนเลย ทำให้ร่างกายต้องปรับอุณหภูมิเร็วมาก เลือดจะขึ้นไปที่สมองอย่างเร็ว ทำให้เส้นเลือดแตกได้ และผลก็คือ เส้นเลือดในสมองแตก และลื่นหกล้มนั่นเอง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดเลือดสมองมีหลายสาเหตุ แบ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ และปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้มักมีสาเหตุจากสุขภาพโดยรวมและรูปแบบการดำเนินชีวิต
+ ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ ได้แก่ +
- อายุ เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดก็จะเสื่อมตามไปด้วย โดยผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้น จากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะรูที่เลือดไหลผ่านจะแคบลงเรื่อยๆ
- เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง
- ภาวะการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการจับตัวกันของเม็ดเลือดและมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนปกติ

+ ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ได้แก่ +
- ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติ
- เบาหวาน เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดปข็งทั่วร่างกาย หากเกิดที่สมองจะมีโอกาสเป็น โรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า
- ไขมันในเลือด เป็นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเช่นเดียวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ ภาวะไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้กีดขวางการลำเลียงเลือด
- โรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือด ถ้าลิ่มเลือดไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง ก็จะทำให้สมองขาดเลือดได้
- การสูบบุหรี่ สารนิโคติน และคาร์บอนมอนอกไซต์ ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และเป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว พบว่า การสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ถึง 3.5%
- ยาคุมกำเนิด ในผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิด ที่มีฮอร์โมน เอสโตรเจนสูง จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูง
- โรคซิฟิลิส เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอักเสบและหลอดเลือดแข็ง
- ความเครียด และขาดการออกกำลังกาย

 
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง
เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น
- ชา หรือ อ่อนแรงที่ใบหน้า และ หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
- พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
- ปวดศรีษะ เวียนศรีษะทันทีทันใด
- ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียว ทันทีทันใด
- เดินเซ ทรงตัวลำบาก
อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพททย์ทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นอาการร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองว่า เป็นหลอดเลือดสมองตีบหรือ หลอดเลือดสมองแตก โดยจะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน
- หลอดเลือดสมองตีบหรือุดตัน เป้าหมายของการรักษาคือ ทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ โดยทางเลือกในการรักษามีหลายวิธี บางกรณีแพทยือาจให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งพบว่าจะได้ผลดีกับผู้ที่มีอาการและ อาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองและรีบมาโรงพยาบาลภายในระยะเวลา ไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง
- หลอดเลือดสมองปริแตก หรือฉีกขาด เป้าหมายของการรักษาคือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมามาก แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองที่เกิดขึ้นหากมีการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต
ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองไม่มีวิธีการรักษาที่ดีไปกว่า การป้องกันและดูแลตัวเอง และลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เกิดโรคอย่างเช่น สูบบุหรี่ ความเครียด โรคอ้วน ดื่มเหล้าเบียร์มากๆ ขาดการออกกำลังกายเป็นต้น
เพราะฉะนั้น เราต้องป้องกันตั้งแต่อายุยังน้อยและหมั่นตรวจเช็คสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยง อีกทั้งต้องลดการรับประทานอาหารเค็ม หวาน มัน เพิ่มผลไม้ นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคหลอดเลือดอยู่แล้ว ก็ควรรับการรักษาและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดด้วยนะคะ
ข้อมูลจาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
เครดิต : ไข่เจียวดอทคอม


เพิ่มเป็นเพื่อนใน Line กับ Naturalcodeclub
เพื่อสอบถามสินค้าและรับโปรโมชันพิเศษจาก NaturalCodeClub ได้เลยค่ะ
Add Line: @naturalcodeclub หรือคลิ๊กด้านล่างเลย!


|