ผลเสียที่อาจตามมา เมื่อใช้ยาลดกรด Proton pump inhibitors มากเกินไป

ในปัจจุบัน พบว่าผู้คนส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคกรดไหลย้อนกันเยอะมาก จึงจำเป็นต้องใช้ยาลดกรดในกลุ่ม ppis เพื่อรักษาอาการป่วยให้ทุเลาลง แต่รู้ไหมว่ายากลุ่มนี้หากกินมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดผลเสียตามมาได้เช่นกัน ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกันว่ายา proton pump inhibitors คืออะไร? มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง? ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อการใช้ยาอย่างปลอดภัยนั่นเอง

Proton pump inhibitors คืออะไร

ยา proton pump inhibitors คือ ตัวยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ H+/K+ ATPase ในเซลล์ผนังกระเพาะอาหาร ส่งผลให้ลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกและอาการอื่นๆ ของโรคกรดไหลย้อนได้ ซึ่งเป็นยาที่ควรใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น เพราะมีผลข้างเคียงค่อนข้างสูง

ยาลดกรดในกลุ่ม Proton pump inhibitors มีอะไรบ้าง

ยาลดกรดในกลุ่ม ppis ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน มี 5 ชนิด ดังนี้

  1. Omeprazole มีชื่อการค้าหลายชื่อ เช่น Miracid, Losec MUPS, O-sid โดยมีขนาด 20 mg และใช้ได้ตั้งแต่เด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ขนาดยาที่รับประทานอยู่ระหว่าง 10-80 mg ต่อวัน เป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ หรือตามคำสั่งของแพทย์ ขึ้นอยู่กับโรคและความรุนแรงของอาการ
  2. Esomeprazole มีชื่อการค้าคือ Nexium MUPS มีขนาด 20 mg และ 40 mg ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก ขนาดยาที่แนะนำคือ 20-40 mg ต่อวัน เป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ เม็ดยาอยู่ในรูปแบบ MUPS ซึ่งสามารถละลายน้ำก่อนรับประทานได้ แต่ห้ามบดเม็ดยา
  3. Lansoprazole มีชื่อการค้าคือ Prevacid FDT มีขนาด 15 mg และ 30 mg ใช้ได้ในเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ขนาดยาแตกต่างกันตามอายุและน้ำหนักตัว เม็ดยาอยู่ในรูปแบบ FDT ซึ่งสามารถละลายในปากหรือน้ำได้ แต่ห้ามบดหรือเคี้ยว
  4. Pantoprazole มีชื่อการค้าคือ Controloc มีขนาด 20 mg และ 40 mg ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก ขนาดยาที่แนะนำคือ 20-80 mg ต่อวัน เป็นเวลา 2-8 สัปดาห์ เม็ดยาเคลือบด้วยสารทนกรด จึงห้ามบดหรือตัดเม็ดยา
  5. Rabeprazole มีชื่อการค้าคือ Pariet มีขนาด 10 mg และ 20 mg ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก ขนาดยาที่แนะนำคือ 10-20 mg ต่อวัน เป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ เม็ดยาเคลือบด้วยสารทนกรดเช่นเดียวกับ Pantoprazole 
ผลเสียที่อาจตามมา เมื่อใช้ยาลดกรด Proton pump inhibitors มากเกินไป

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา PPIs ในระยะสั้น

การใช้ยาลดกรดชนิดนี้ มีผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้ในระยะสั้นนั้น ดังนี้

อาการทางระบบทางเดินอาหาร

เนื่องจากตัวยาจะเข้าไปลดกรดในกระเพาะ ดังนั้นจึงมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารโดยตรง ซึ่งที่พบบ่อย ๆ ก็จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย และปวดท้อง เป็นต้น โดยอาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทั้งนี้หากมีอาการรุนแรง ควรหยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์ทันที ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้เปลี่ยนยาหรือลดขนาดของยาที่รับประทานลงนั่นเอง

ผลกระทบต่อการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุ

ยาลดกรด ppis มีผลทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดได้น้อยลงกว่าปกติ เช่น 

  • แคลเซียม เพราะการดูดซึมแคลเซียมจำเป็นต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดเล็กน้อย การใช้ยา PPIS  ไปเปลี่ยนแปลงสภาพของกระเพาะเล็กน้อย จึงส่งผลให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง และหากขาดแคลเซียมเป็นเวลานาน ก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้
  • วิตามินบี12 จะถูกปลดปล่อยออกมาจากอาหารเมื่อสัมผัสกับกรดในกระเพาะอาหาร การใช้ยา ppis จะทำให้กระบวนการนี้เกิดขึ้นได้น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายดูดซึมวิตามินบี 12 ได้ไม่เพียงพอ จึงอาจส่งผลต่อระบบประสาทและการสร้างเม็ดเลือดแดงได้นั่นเอง

ความเสี่ยงจากการใช้ยา PPIs ในระยะยาว

สำหรับใครที่ต้องกินยาลดกรด ppis ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ก็จะมีผลเสียในระยะยาวได้ ดังนี้

เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในลำไส้

การใช้ยา ppis ในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ โดยเฉพาะเชื้อ Clostridium difficile ซึ่งทำให้เกิดอาการท้องเสียรุนแรงได้ นั่นก็เพราะตัวยาจะทำให้สภาพแวดล้อมในทางเดินอาหารเปลี่ยนแปลงไป และเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคบางชนิดนั่นเอง

ผลกระทบต่อความหนาแน่นของกระดูก

อย่างที่รู้กันมาบ้างแล้วว่า ยาลดกรดในกระเพาะอาหารชนิดนี้ จะทำให้การดูดซึมแร่ธาตุ และสารอาหารบางชนิดลดลง ซึ่งหากเป็นอย่างนี้ต่อเนื่องจะเกิดภาวะขาดวิตามินที่สำคัญ โดยเฉพาะแคลเซียมที่จำเป็นต่อกระดูก จึงทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน และกระดูกแตกหักได้ ยิ่งเป็นผู้สูงอายุด้วยแล้ว ยิ่งต้องระวังเป็นอย่างมากในการใช้ยาชนิดนี้

ความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง

การกินยาลดกรดต่อเนื่อง ก็ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรังได้ ซึ่งคาดว่าเป็นเพราะการอักเสบของไตหรือการสะสมของแมกนีเซียมในร่างกายที่มีผลต่อการทำงานของไต ดังนั้นถ้าจำเป็นต้องกินยาในระยะยาวก็ควรมีการตรวจเช็กค่าไตอย่างสม่ำเสมอ โดยการตรวจวัดระดับครีเอตินินในเลือด และการประเมินอัตราการกรองของไต (eGFR) เป็นประจำ 

ความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง

ตัวเลือกการรักษากรดไหลย้อนอย่างปลอดภัย

เมื่อเป็นกรดไหลย้อนหรือเป็นโรคกระเพาะอาหาร การกินยา ppis อาจจะช่วยบรรเทาอาการได้ในทันที แต่ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงได้สูงเช่นกัน เพราะฉะนั้นจะดีกว่าไหมหากมีอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยรักษากรดไหลย้อน ซึ่ง Natural Code เราขอแนะนำนี่เลย ขมิ้นฟู่ ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อนได้จริง และเห็นผลเร็วอีกด้วย เพียงทานวันละ 1 ซอง ก่อนอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งเท่านั้น 

จะช่วยให้อาการกรดไหลย้อนจะทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัด และรู้สึกสบายท้องมากยิ่งขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้เราก็ยังมีผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอีกมากมาย อย่างอาหารเสริมลดไขมัน และอาหารเสริมลดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น

หากสนใจอยากซื้อสินค้าก็สามารถกดเข้าไปสั่งกันได้ที่ช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

  • หน้าเว็บไซต์ NaturalCode-Thailand.com 
  • สั่งซื้อผ่านทางอีเมล sales@naturalcode-thailand.com 
  • โทรสั่งซื้อสินค้าได้โดยตรงที่ Customer care เบอร์ 087-0891500 หรือ 02-7207920
author-avatar

About ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร จาก Naturalcode

ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพร สินค้าทั้งหมดของเรา ได้ผ่านมาตรฐานการผลิต GMP และผ่านการรับรองจาก อย ไทย แล้วทั้งสิ้น จากงานวิจัยของเราเองจึงมั่นใจได้ในเรื่องของความปลอดภัย