ผู้ป่วยเบาหวานทำ IF ได้ไหม

เมื่อรู้ตัวว่าได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากการใช้ยาตามที่แพทย์สั่งแล้ว ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้เหมาะสม เพื่อเป็นการควบคุมระดับปริมาณน้ำตาลในร่างกาย และไม่ให้อาการของโรครุนแรงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากก็คือ การทำ if ในผู้ป่วยเบาหวาน ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้ปกติแล้ว ยังมีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 

ซึ่งจริง ๆ แล้วผู้ป่วยเบาหวานสามารถทำ IF ได้ไหม? หรือมีรูปแบบในการทำ IF อย่างไรให้เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานได้บ้างนั้น วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว ตามมาอ่านพร้อม ๆ กันได้เลย  

หลักการกินแบบ IF คืออะไร

IF หรือ Intermittent Fasting คือ หลักการรับประทานอาหารแบบจำกัดช่วงเวลา ที่แบ่งเป็นช่วงรับประทานอาหาร (feeding) และช่วงอดอาหาร (fasting) เพื่อเป็นการรักษาระดับอินซูลินในร่างกาย และเพิ่มประสิทธิภาพระบบเผาผลาญไขมันส่วนเกินของร่างกาย จึงส่งผลดีต่อการลดน้ำหนัก ดูแลรูปร่าง รวมถึงลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี 

กลไกการทำงานของ IF ต่อร่างกาย

ในช่วงที่ร่างกายอยู่ระหว่างการอดอาหาร หรือ fasting จะทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินลดน้อยลง เกิดกระบวนการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมันในเลือดลดน้อยลงเช่นเดียวกัน ในทางกลับกันร่างกายก็จะหลั่งสารโกรทฮอร์โมน และฮอร์โมนนอร์อีพิเนฟรินออกมาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยให้ระบบเผาผลาญไขมันของร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการทำ IF จึงสามารถช่วยลดไขมันในเลือดและลดน้ำหนักได้นั่นเอง  

5 รูปแบบการกินแบบ IF ที่ได้รับความนิยม

สำหรับรูปแบบการกินแบบ IF ปกติแล้วจะแบ่งเป็นช่วงรับประทานอาหาร (feeding) และช่วงอดอาหาร (fasting) ซึ่งจะมีการกำหนดรูปแบบที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น 

  1. ทำ IF แบบแบ่งช่วงเวลา โดยมีช่วงเวลาที่นิยมที่สุดคือ 16/8 หรือช่วงเวลาที่อดอาหาร 16 ชั่วโมง และทานอาหาร 8 ชั่วโมง นอกจากนี้ก็จะมีช่วงเวลา 14/10 และ 19/5 ซึ่งคุณสามารถเลือกสรรเวลาได้ตามสะดวกเลย
  2. ทำ IF แบบจำกัดมื้อ โดยจะมีรูปแบบทั้งกินอาหารมื้อเดียวต่อวัน โดยจะกินมื้อเที่ยงมื้อเดียว หรือในช่วงเวลาที่ไม่เกิน 4 โมงเย็น และแบบกินเพียง 2 มื้อต่อวัน คือ งดอาหารเช้า แล้วกินมื้อเที่ยง และมื้อเย็นก่อน 2 ทุ่ม เป็นต้น
  3. ทำ If แบบ 5:2 หรือใน 1 สัปดาห์จะแบ่งเป็นวันกินอาหารตามปกติ 5 วัน และอีก 2 วันเป็นการทำ IF ซึ่งในวันที่ทำ IF จะเลือกเป็นการอดอาหารทั้งวัน หรือเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันและพลังงานต่ำก็ได้ 
  4. ทำ IF แบบวันเว้นวัน คืออด 1 วัน กิน 1 วัน แต่ระหว่างที่อยู่ในช่วงอดอาหาร จะยังสามารถเลือกกินอาหารแคลอรีต่ำได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องจำกัดการกิน ให้กินน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้
  5. ทำ IF แบบจัดสรรเวลาเอง คล้าย ๆ กับการทำ IF แบบแรก เพียงแต่จะมีช่วงระยะเวลาที่ไม่แน่นอนมากกว่า หรืออาจเน้นไปเป็นการจำกัดมื้ออาหารแทนก็ได้เช่นกัน 
5 รูปแบบการกินแบบ IF ที่ได้รับความนิยม

การทำ IF ในผู้ป่วยเบาหวานลดน้ำตาลในเลือดได้จริงไหม

การทำ IF ในผู้ป่วยเบาหวาน สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้จริง แต่ขอแนะนำว่าควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ว่าควรจะทำ IF ในรูปแบบไหนถึงจะเหมาะสม สามารถอดอาหารได้นานเท่าไหร่ดี และจำเป็นต้องดูแลเรื่องโภชนาการปริมาณอาหารที่ทานร่วมด้วยหรือไม่? เพื่อให้การทำ IF เห็นผลมากที่สุด สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี และป้องกันอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ 

วิธีการทำ IF อย่างปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

การทำ IF ในผู้ป่วยเบาหวานเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และน้ำหนักตัวของผู้ป่วยเท่านั้น ไม่ใช่แนวทางการรักษาหลักแต่อย่างใด จึงจำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการพบแพทย์ประจำตัว โดยจะมีวิธีการทำ IF อย่างปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ดังนี้

ปรึกษาคุณหมอ เพื่อประเมินความเหมาะสมรายบุคคล

โรคเบาหวานมีระดับความรุนแรงของโรคหลายระดับ และเป็นโรคที่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ง่าย ฉะนั้นหากต้องการจะทำ IF ควรเข้ารับคำแนะนำและคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนว่าคุณเหมาะสำหรับการทำ IF หรือไม่? ถ้าสามารถทำได้ จะเหมาะกับรูปแบบใดมากที่สุด รวมถึงรับทราบผลข้างเคียงจากการใช้ยาหากอยู่ในช่วงระหว่างทำ IF ร่วมด้วย 

การเลือกรูปแบบ IF ที่เหมาะสม

เบื้องต้นจะเห็นได้ว่าการทำ IF มีอยู่หลายรูปแบบ และเพื่อให้การทำ IF ในผู้ป่วยเบาหวานเป็นไปอย่างปลอดภัย จึงควรต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจทำ ซึ่งแพทย์มักจะแนะนำว่าควรเลือกรูปแบบการทำ IF ให้เหมาะสมกับลักษณะของโรคด้วย เช่น ไม่ควรทำ IF ในช่วงเช้า เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเบาหวานน้ำตาลในเลือดต่ำ และส่งผลเสียต่อสุขภาพได้  เป็นต้น

การปรับแผนการรับประทานอาหารและยา

สำหรับคนที่มีการใช้ยาฉีดอินซูลิน หรือยาเบาหวานอยู่ หากต้องการทำ IF ในผู้ป่วยเบาหวาน  ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำ และควรดูแลเรื่องอาหารการกินร่วมด้วย อย่างเช่นหากอยู่ในช่วงรับประทานอาหารหรือ feeding แนะนำว่าควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ รวมถึงลดปริมาณน้ำตาล และคาร์โบไฮเดรตให้ได้มากที่สุด 

ที่สำคัญควรให้คุณหมอช่วยวางแผนการรับประทานยา เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป และเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาด้วยนั่นเอง

การติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด

เพราะการทำ if มีส่วนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แนะนำว่าการทำ IF ในผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องมีการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด โดยควรมีระดับน้ำตาลไม่น้อยกว่า 70 มก.ดล. และควรหมั่นเช็กอาการตัวเองอยู่เสมอว่ามีอาการของน้ำตาลตกหรือไม่? 

โดยหากพบว่ามีเหงื่อแตก ใจสั่นร่วมด้วย ควรตรวจค่าน้ำตาลซ้ำทุก ๆ 15 นาที หากพบว่าต่ำกว่าเกณฑ์แนะนำควรหยุดการทำ if ทันที และทานอาหารได้ตามปกติเลย

ประโยชน์ของการกินแบบ IF ที่ถูกวิธี

ประโยชน์ของการทำ IF ในผู้ป่วยเบาหวาน นอกเหนือไปจากช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว ยังมีประโยชน์อีกมากมายหากทำอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็น

  • สามารถช่วยลดน้ำหนักตัวได้ 
  • มีส่วนช่วยให้คุณควบคุมความหิวได้ดี 
  • ช่วยลดไขมันส่วนเกินสะสมในร่างกาย
  • ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคมะเร็ง 
  • ช่วยลดการเกิดภาวะอ้วน และภาวะดื้ออินซูลิน 
  • ช่วยลดการอักเสบเรื้อรังระดับเซลล์ พร้อมลดการเกิดสารอนุมูลอิสระ
  • ช่วยชะลอวัยได้ดี
  • ช่วยให้จิตใจแจ่มใส อารมณ์ดี นอนหลับง่าย 

ทางเลือกอื่นในการควบคุมน้ำตาลในเลือด

เพราะการทำ IF ในผู้ป่วยเบาหวานอาจมีข้อจำกัดในผู้ป่วยบางรายที่มีความรุนแรงของโรคในบางระดับ หรืออาจส่งผลเสียต่อการใช้ยาโรคเบาหวานได้ จึงทำให้หลายคนกังวลว่าวิธีนี้จะทำให้ระดับน้ำตาลต่ำเกินไป จนอาจเกิดอันตรายได้ ทั้งนี้ก็ยังมีทางเลือกอื่น ๆ ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อยู่ ดังนี้ 

  • การปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารรูปแบบอื่น ๆ เช่น ลดอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เลือกทานคาร์โบไฮเดรตประเภทเชิงซ้อนแทน ลดจำนวนมื้ออาหารลง และเน้นการทานอาหารที่มีโปรตีนสูงมากขึ้น
  • หมั่นออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เร่งการเผาผลาญไขมัน และรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติ 
  • อาศัยการทานยาที่จ่ายจากแพทย์ ร่วมกับการทานอาหารที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือด อย่างเช่น การทานอาหารเสริมลดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น
ทางเลือกอื่นในการควบคุมน้ำตาลในเลือด

การทำ IF ในผู้ป่วยเบาหวาน สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และมีส่วนช่วยดูแลสุขภาพร่างกายด้านอื่น ๆ ร่วมด้วยหากทำอย่างถูกวิธี ซึ่งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ในการวางแผนการทำ if ที่เหมาะสมเพื่อป้องกันผลข้างเคียง และอาการแทรกซ้อนจากการทำ if 

นอกจากนี้ก็ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และทานอาหารเสริมที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดร่วมด้วย อย่างผลิตภัณฑ์ลดเบาหวาน Lokukar ซึ่งมีส่วนผสมของสารสกัดสำคัญถึง 7 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นชัน มะระขี้นก เชียงดา ใบหม่อนแห้ง ผงเจียวกู้หลาน ผงอบเชย และเห็ดหลินจือ ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาล ให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงอย่างยั่งยืนนั่นเอง

หากสนใจอยากซื้อสินค้าก็สามารถกดเข้าไปสั่งกันได้ที่ช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

  • หน้าเว็บไซต์ NaturalCode-Thailand.com 
  • สั่งซื้อผ่านทางอีเมล sales@naturalcode-thailand.com 
  • โทรสั่งซื้อสินค้าได้โดยตรงที่ Customer care เบอร์ 087-0891500 หรือ 02-7207920