เบาหวานเป็นโรคที่พบบ่อยมากในปัจจุบัน จึงควรรู้ถึงสัญญาณเตือนเบาหวาน เพื่อจะได้รู้เท่าทันและสามารถช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคได้ ดังนั้นเราจะมาพูดถึงสัญญาณเตือนของโรคเบาหวานที่ควรสังเกตกัน

เพื่อให้คุณสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างทันท่วงที ซึ่งในวันนี้ NaturalCode ก็มีข้อมูลมาบอกให้รู้กันว่าเบาหวานคืออะไร?  มีอาการและมีวิธีการป้องกันอย่างไรได้บ้าง? ต้องมาดูกันเลย

เบาหวานคืออะไร

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในคนปกติตับอ่อนจะผลิตฮอร์โมนอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ในผู้ป่วยเบาหวาน จะเกิดปัญหาใดปัญหาหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ (เบาหวานชนิดที่ 1)
  2. ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เบาหวานชนิดที่ 2)

ซึ่งจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยเบาหวานหรือไม่? มาดูสัญญาณเตือนเบาหวานกันต่อเลย

วิธีการป้องกันโรคเบาหวาน

สัญญาณเตือนเบาหวาน

สัญญาณเตือนเบาหวาน  มีอะไรบ้าง?

  • ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • กระหายน้ำมากกว่าปกติ และดื่มน้ำบ่อย
  • น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ได้ควบคุมอาหาร
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย แม้ทำกิจกรรมเล็กน้อย
  • แผลหายช้า โดยเฉพาะแผลที่เท้าหรือขา
  • ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด
  • ชาหรือเสียวตามปลายมือปลายเท้า
  • ผิวหนังคัน โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศหรือบริเวณที่มีรอยพับของผิวหนัง
  • เกิดการติดเชื้อบ่อย เช่น เชื้อราในช่องคลอด หรือเชื้อราบริเวณอวัยวะเพศชาย
  • หิวบ่อย ทานมากกว่าปกติ แต่น้ำหนักกลับลดลง

หากคุณสังเกตเห็นสัญญาณเตือนเบาหวานเหล่านี้กับตัวเองหรือคนใกล้ชิด ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย การตรวจพบโรคเบาหวานในระยะเริ่มต้นจะช่วยให้การรักษาและควบคุมโรคทำได้ง่ายขึ้น และลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้ด้วย

วิธีการตรวจคัดกรองเบาหวาน

การตรวจคัดกรองเบาหวาน เป็นวิธีการที่ช่วยให้เรารู้เท่าทันได้ตั้งแต่เป็นโรคเบาหวานในระยะเริ่มต้น โดยมีวิธีการตรวจหลัก ๆ ดังนี้

1. การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FPG: Fasting Plasma Glucose)

วิธีนี้เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวัดระดับกลูโคสในเลือดหลังจากอดอาหาร ดังนั้นจึงจะต้องงดอาหารและเครื่องดื่ม (ยกเว้นน้ำ) อย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนมาทำการตรวจระดับน้ำตาล ซึ่งค่าที่วัดได้ จะแปลผลได้ดังนี้

  •    ค่าปกติ: น้อยกว่า 100 มก./ดล.
  •    ค่าเสี่ยง (Pre-diabetes): 100-125 มก./ดล.
  •    เป็นเบาหวาน: ค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 126 มก./ดล.

2. การตรวจ HbA1c (Hemoglobin A1c)

เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวัดค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือด (กลูโคส) ที่เกาะกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะเป็นการวัดระดับน้ำตาลเฉลี่ยในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา โดยไม่ต้องอดอาหารก่อนการตรวจ

  •     ค่าปกติ: น้อยกว่า 5.7%
  •     ค่าเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน: 5.7-6.4%
  •     เป็นเบาหวาน: ค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 6.5%

3. การทดสอบความทนต่อกลูโคส (OGTT: Oral Glucose Tolerance Test)

เพื่อวัดว่าร่างกายของคุณสามารถกำจัดน้ำตาล (กลูโคส) ออกจากกระแสเลือดได้ดีเพียงใด โดยจะให้ดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม และตรวจเลือดหลังจากนั้น 2 ชั่วโมง ซึ่งค่าที่วัดได้ จะแปลผลได้ดังนี้

  •     ค่าปกติ: น้อยกว่า 140 มก./ดล.
  •     ค่าเสี่ยง: 140-199 มก./ดล.
  •     เป็นเบาหวาน: มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก./ดล.

4. การคัดกรองในหญิงตั้งครรภ์ (GCT: Glucose Challenge Test)

เป็นการตรวจเบื้องต้นเพื่อหาผู้มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) ช่วงตั้งครรภ์ 24-28 สัปดาห์ โดยไม่ต้องงดอาหารก่อนการตรวจ

วิธีการตรวจ GCT:

  1. หญิงตั้งครรภ์ดื่มน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม ละลายน้ำ 200 มล. ภายใน 5 นาที
  2. เจาะเลือดหลังดื่มน้ำตาลกลูโคส 1 ชั่วโมง

ค่าปกติของ GCT: ระดับน้ำตาลในเลือดหลังดื่มน้ำตาลกลูโคส 1 ชั่วโมง น้อยกว่า 140 มก./ดล.

ผู้ที่ควรรับการตรวจคัดกรอง GCT

  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือมีค่า BMI ≥ 23 กก./ตร.ม. สำหรับคนเอเชีย
  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติคลอดลูกตัวโต (น้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม)
  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง หรือครรภ์เป็นพิษ
  • หญิงที่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน

วิธีการป้องกันโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานถือเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่น่ากังวลมากที่สุด โดยเฉพาะในประเทศไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การป้องกันโรคเบาหวานจึงเป็นกุญแจสำคัญสู่การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพ ซึ่งเรามี 5 วิธีป้องกันโรคเบาหวานมาแนะนำดังนี้

1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

น้ำหนักเกินและโรคอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเฉพาะในผู้ที่มีไขมันที่สะสมรอบเอวและอวัยวะภายใน การลดน้ำหนักเพียง 5-7% ของน้ำหนักตัว จะสามารถลดความเสี่ยงเบาหวานได้ถึง 58% ในกลุ่มเสี่ยง

ดังนั้น จึงควรรักษาค่า BMI ให้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 กก./ตร.ม. สำหรับคนเอเชีย ทั้งนี้การลดน้ำหนักไม่เพียงช่วยป้องกันโรคเบาหวานเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย

2. รับประทานอาหารสุขภาพ

การรับประทานอาหารที่เหมาะสม จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยควรเน้นทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัด ธัญพืชไม่ขัดสี และโปรตีนคุณภาพดีจากปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือถั่ว ลดการทานอาหารแปรรูป ขนมหวาน และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง 

ซึ่งการปรับพฤติกรรมการทานอาหารเช่นนี้ ไม่เพียงช่วยป้องกันเบาหวานได้เท่านั้น แต่ยังดีต่อหัวใจและสุขภาพโดยรวมด้วยเช่นกัน

3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายเป็นยาวิเศษที่ไม่ต้องสิ้นเปลือง นอกจากช่วยเผาผลาญพลังงานและควบคุมน้ำหนักแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ได้ดียิ่งขึ้น โดยควรออกกำลังกายระดับปานกลาง เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ หรือปั่นจักรยาน อย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ 

นอกจากนี้ การเพิ่มกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินแทนขับรถในระยะใกล้ หรือใช้บันไดแทนลิฟต์ ก็จะช่วยให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ได้มากขึ้นเช่นกัน

4. ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ

ความเครียดและการนอนพักผ่อนไม่พอ ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ต้านการทำงานของอินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ดังนั้นจึงควรนอนหลับ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูและควบคุมฮอร์โมนได้ดี 

นอกจากนี้การทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ฝึกสมาธิ โยคะ หรือทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ ก็จะช่วยลดความเครียดได้เช่นกัน ทั้งนี้การจัดการความเครียดที่ดี ไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นด้วย

5. เลิกสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

บุหรี่และแอลกอฮอล์เป็นศัตรูตัวร้ายของสุขภาพ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเบาหวาน การสูบบุหรี่ไม่เพียงเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินอีกด้วย

ส่วนแอลกอฮอล์นั้น จะมีแคลอรีที่สูง ทำให้น้ำหนักเพิ่มและรบกวนการทำงานของตับอ่อน ซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตอินซูลินนั่นเอง  ดังนั้นการเลิกสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้เยอะมาก ๆ เลยล่ะ

6. ทานอาหารเสริม เครื่องดื่มลดน้ำตาลในเลือด

การผลิตภัณฑ์ลดเบาหวาน ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยป้องกันเบาหวานได้เช่นกัน NaturalCode ขอแนะนำนี่เลย Bitter Melon Drink เครื่องดื่มผงมะระขี้นกเข้มข้น มีสารซาแลนตินหรือภาษาอังกฤษคือ Charantin ประกอบไปด้วย สาร Stigmasterol glucoside  และ Beta-Sitosteryl glucoside  ที่จะช่วยลดน้ำตาลในเลือด 

และทำให้น้ำย่อยในกระเพาะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนผสมของเครือจันปา หญ้าหวาน และอินนูลีนจากแก่นตะวัน ซึ่งล้วนมีส่วนช่วยในการป้องกันเบาหวานได้ดี จึงเป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพที่คุณไม่ควรพลาด

โรคเบาหวานสามารถป้องกันได้ โดยการควบคุมน้ำหนัก ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย

โรคเบาหวาน อาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพได้ อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถป้องกันได้ โดยการควบคุมน้ำหนัก ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย เลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์แต่พอดี ตลอดจนหาวิธีจัดการความเครียดที่เหมาะสม และการทานวิตามินช่วยลดระดับน้ำตาลที่ NaturalCode ได้แนะนำทุกท่านไป

หากท่านสนใจก็สามารถกดเข้าไปสั่งกันได้ที่ช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

  • หน้าเว็บไซต์ NaturalCode-Thailand.com 
  • สั่งซื้อผ่านทางอีเมล sales@naturalcode-thailand.com 
  • โทรสั่งซื้อสินค้าได้โดยตรงที่ Customer care  เบอร์ 087-0891500 หรือ 02-7207920