triglycerides, bad fats

ปัจจุบันการรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดและอาหารแปรรูปกำลังเป็นที่นิยม ด้วยวิถีชีวิตคนเมืองที่ค่อนข้างเร่งรีบ ทำให้ได้รับไขมันปริมาณมากโดยไม่รู้ตัว หนึ่งในไขมันที่ควรระวังเป็นพิเศษก็คือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งมักถูกมองข้ามความสำคัญไปเมื่อเทียบกับคอเลสเตอรอล แต่ความจริงแล้ว ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงนั้น สามารถส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายได้มากเลยทีเดียว 

ทั้งเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคตับ ในบทความนี้ NaturalCode จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับไตรกลีเซอไรด์กันว่าทำไมจึงถูกเรียกว่า “ไขมันตัวร้าย” มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร? รวมถึงวิธีป้องกันและลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน ตามมาดูกันเลย

ไตรกลีเซอไรด์คืออะไร

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) เป็นรูปแบบหนึ่งของไขมันที่พบมากที่สุดในร่างกาย โดยเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำมันพืชและไขมันสัตว์ที่เรารับประทานเข้าไป ซึ่งร่างกายของเราจะสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์เพื่อเก็บพลังงานส่วนเกินจากอาหารที่เรารับประทาน โดยเฉพาะอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลสูง 

ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์และถูกเก็บไว้ในเซลล์ไขมัน เมื่อร่างกายต้องการพลังงาน ฮอร์โมนจะถูกปล่อยออกมาเพื่อย่อยไตรกลีเซอไรด์ให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน แม้ว่าไตรกลีเซอไรด์จะมีประโยชน์ในการเก็บพลังงาน แต่หากมีมากเกินไปในกระแสเลือด ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่เหมาะสม

การรักษาระดับไตรกลีเซอไรด์ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพ โดยองค์กรด้านสุขภาพหลายแห่ง รวมถึง National Cholesterol Education Program (NCEP) ของสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดเกณฑ์ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไว้ดังนี้

  1. ปกติ: น้อยกว่า 150 mg/dL
  2. ค่อนข้างสูง: 150-199 mg/dL
  3. สูง: 200-499 mg/dL
  4. สูงมาก: 500 mg/dL หรือมากกว่า

โดยระดับที่แนะนำ คือ จะต้องรักษาระดับไตรกลีเซอไรด์ให้ต่ำกว่า 150 mg/dL ซึ่งจะถือว่า “ปกติ” และมีความเสี่ยงต่ำในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มีประวัติโรคหัวใจในครอบครัว หรือเป็นโรคเบาหวาน แพทย์อาจแนะนำให้รักษาระดับไตรกลีเซอไรด์ให้ต่ำกว่า 100 mg/dL เพื่อลดความเสี่ยงให้มากที่สุด

ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง ส่งผลกระทบอย่างไร

ไตรกลีเซอไรด์สูงส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายด้าน ดังนี้

  • เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ: ไตรกลีเซอไรด์สูงทำให้ผนังหลอดเลือดหนาขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และภาวะหัวใจวาย
  • เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง: เมื่อไขมันสะสมในหลอดเลือดสมอง อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน นำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกได้
  • เพิ่มความเสี่ยงโรคตับอ่อนอักเสบ: ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงมากกว่า 1,000 mg/dL สามารถทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต
  • นำไปสู่โรคอ้วนลงพุง: ไตรกลีเซอไรด์ส่วนเกินจะถูกเก็บไว้ในเซลล์ไขมัน โดยเฉพาะบริเวณช่องท้อง ทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคหัวใจด้วยนั่นเอง
  • เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน: ไตรกลีเซอไรด์สูงมักพบร่วมกับภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • ทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับ: ไตรกลีเซอไรด์ส่วนเกินจะถูกเก็บในเซลล์ตับ ทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับ ซึ่งอาจทำให้ตับอักเสบและตับแข็งในระยะยาวได้
  • เพิ่มความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม: มีงานวิจัยชี้ว่าระดับไตรกลีเซอไรด์สูงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมชนิดอื่น ๆ
  • ส่งผลต่อการทำงานของไต: ไตรกลีเซอไรด์สูงร่วมกับภาวะอ้วนและเบาหวาน สามารถทำให้ไตเสื่อมการทำงานได้เร็วขึ้น
 สาเหตุของไตรกลีเซอไรด์สูง

สาเหตุของไตรกลีเซอไรด์สูง

สาเหตุของไตรกลีเซอไรด์สูง มีหลายปัจจัย ทั้งจากการใช้ชีวิตและปัจจัยทางพันธุกรรม ดังนี้

  • รับประทานคาร์โบไฮเดรตมากเกิน โดยเฉพาะน้ำตาล น้ำอัดลม ขนมหวาน และแป้งขัดขาว ซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตส่วนเกิน และสะสมเป็นไตรกลีเซอไรด์
  • ดื่มแอลกอฮอล์มากไป ซึ่งแอลกอฮอล์จะมีแคลอรีสูงโดยเฉพาะเบียร์และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลผสม ทำให้เกิดการสะสมไขมันเพิ่มขึ้นได้
  • น้ำหนักเกินและโรคอ้วน เกิดไขมันส่วนเกินในร่างกายส่งผลให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้
  • ขาดการออกกำลังกาย และชอบการนั่ง ๆ นอน ๆ ทำให้ร่างกายไม่ได้ใช้พลังงานจากไตรกลีเซอไรด์  จึงเกิดไขมันสะสมมากขึ้น
  • พันธุกรรม บางคนมียีนที่ทำให้ตับผลิตไตรกลีเซอไรด์มากเกิน หรือย่อยไตรกลีเซอไรด์ได้ช้า
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด ยาสเตียรอยด์ และยารักษาโรค HIV บางตัว
  • ภาวะตั้งครรภ์ อาจมีฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นชั่วคราวได้
  • ภาวะเครียดเรื้อรัง ความเครียดทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งสามารถเพิ่มการผลิตไตรกลีเซอไรด์ได้
  • โรคไตเรื้อรัง เพราะหากไตมีการทำงานลดลง อาจส่งผลให้ร่างกายกำจัดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ไม่ดีนั่นเอง

วิธีลดไตรกลีเซอไรด์

วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ทำได้หลายวิธี ส่วนใหญ่เน้นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการรับประทานอาหาร เช่น

  • ลดน้ำหนัก 5-10% ของน้ำหนักตัว จะสามารถลดไตรกลีเซอไรด์ได้มากถึง 20%
  • ลดคาร์โบไฮเดรตแปรรูป หลีกเลี่ยงขนมหวาน น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว และแป้งขัดขาว
  • เลือกคาร์โบไฮเดรตคุณภาพดี เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และถั่ว ซึ่งมีไฟเบอร์สูง ช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลได้
  • เพิ่มไขมันดี โดยเน้นรับประทานปลาทะเลน้ำลึก (โอเมก้า-3), อะโวคาโด, ถั่ว และเมล็ดพืช เช่น เมล็ดเจีย และวอลนัท
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอครั้งละ 30 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์ จะช่วยให้ระบบเผาผลาญไขมัน ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์และค็อกเทลที่มีน้ำตาลสูง
  • เพิ่มโปรตีนคุณภาพดีในมื้ออาหาร เช่น ปลา ไก่ ไข่ขาว ถั่ว ช่วยให้อิ่มนาน และลดการทานคาร์โบไฮเดรตได้มากขึ้น
  • นอนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน จะช่วยควบคุมฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความหิวและการเผาผลาญได้
  • จัดการความเครียด ด้วยการทำสมาธิ โยคะ หรือกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย
  • การทานอาหารเสริมลดไขมันในเลือด ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ตัวร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตภัณฑ์ Lo-Chole อาหารเสริมลดไขมันในเลือด ที่มีส่วนผสมของถั่วเน่าญี่ปุ่น และข้าวยีสต์แดง จึงสามารถช่วยลดไขมันในเลือดได้ ครบทุกตัว ไม่ว่าจะเป็นคลอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ ไขมันเลว (LDL) รวมถึงสามารถสลายลิ่มเลือดได้ด้วย จึงป้องกันภาวะหลอดเลือดตีบ อันเป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหลอดเลือดสมองตีบ ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญคือวัดผลได้จากการตรวจเลือด ปลอดภัย ผ่านการรับรองจาก อย. ไทย เรียบร้อย
การลดระดับไตรกลีเซอไรด์

สรุปบทความ

การลดระดับไตรกลีเซอไรด์ต้องใช้เวลาและความอดทน แต่ผลลัพธ์คุ้มค่าที่สุด ก็คือ การมีสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงในระยะยาว ดังนั้นมาควบคุมระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ให้เหมาะสมกันดีกว่า และพยายามหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ไตรกลีเซอร์ไรด์เพิ่มขึ้นด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเอง

หากสนใจอยากซื้อสินค้าก็สามารถกดเข้าไปสั่งกันได้ที่ช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

  • หน้าเว็บไซต์ NaturalCode-Thailand.com 
  • สั่งซื้อผ่านทางอีเมล sales@naturalcode-thailand.com 
  • โทรสั่งซื้อสินค้าได้โดยตรงที่ Customer care  เบอร์ 087-0891500 หรือ 02-7207920